อบรม จป หัวหน้างาน ออนไลน์เพื่อทำงานด้านความปลอดภัยเริ่มต้นอย่างไร มีวิธีการอะไรบ้าง

by Edwin Holt
57 views

การอบรม จป หมายถึง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานเพื่อสอดส่องดูแลด้านความปลอดภัยในองค์กรของเรา ซึ่งกฎหมายกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานนั้น ได้กำหนดให้นายจ้างจะต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในแต่ละระดับตามที่กฎหมายกำหนด เช่น จป หัวหน้างาน, จป บริหาร, จป เทคนิค เป็นต้น

 

ข้อกำหนดเกี่ยวกับจป. ในองค์กร

 

ข้อกำหนดเกี่ยวกับ จป ในองค์กร

ก่อนที่เราจะทำการ อบรม จป นั้นเราจะต้องทำการตรวจสอบในองค์กรของเราเสียก่อน ว่าเราอยู่ในกิจการประเภทใดบ้าง และมีจำนวนลูกจ้างทั้งหมดกี่คน เพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับแนวทางที่ราชการประกาศออกมา ยกตัวอย่าง เช่น

  1. หากเราเป็นบริษัทไซด์งานก่อสร้างกฎหมายได้กำหนดว่าสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่สองคนขึ้นไปจะต้องจัดให้มี จป ระดับหัวหน้างาน จป ระดับบริหาร หรือ จป เทคนิค เป็นต้น
  2. ลูกจ้างที่มีจำนวนเกิน 20 คนขึ้นไปนายจ้างจะต้องจัดให้มี จป หัวหน้างานในสถานประกอบกิจการ เช่น กิจการโรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน ห้อง labต่างๆ สถานบันเทิง การกีฬากิจ การเหล่านี้จะต้องส่งลูกจ้างไป อบรม จป เพื่อทำการขึ้นทะเบียนและปฎิบัติหน้าที่ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับจป เช่น
    ⁃ เสนอให้มีมาตรการความปลอดภัยในการทำงานที่เหมาะสม
    ⁃ ตรวจสอบและเสนอให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย
    ⁃ ทำการวิเคราะห์เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เป็นอุบัติเหตุ
    ⁃ วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตราย
    ⁃ วิเคราะห์แผนงานตามโครงการมาตรการต่างๆ จัดทำรายงาน
    ⁃ ประเมินการประสบอันตรายและหาวิธีการป้องกันจัดทำรายงาน
    ⁃ ประเมินความเสี่ยงในการทำงาน
    ⁃ ควบคุมให้พนักงานหรือลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับกฎระเบียบด้านความปลอดภัยในตามคู่มือความปลอดภัยในการทำงาน
    ⁃ แนะนำฝึกสอนอบรมลูกจ้างให้พนักงานทุกคนได้ผ่านการฝึกอบรมตามที่กฎหมายกำหนด เช่น หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานสำหรับพนักงานใหม่เป็นต้น
    ⁃ ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยอื่นๆตามที่นายจ้างมอบหมาย เช่น การจัดกิจกรรมด้านความปลอดภัย
    ⁃ ตรวจประเมินตามแผนงานด้านความปลอดภัยเช่นการตรวจอุปกรณ์ฉุกเฉินต่างๆการตรวจสอบพื้นที่การตรวจ 5ส
    ⁃ ทำการตรวจวัดประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานประจำปีเช่นตรวจสารเคมีตรวจความร้อนตรวจแสงสว่างตรวจเสียง

 

สถานประกอบกิจการที่ต้องมีจป.

 

สถานประกอบกิจการและบริษัทไหนต้องมี จป

ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานฯ พ.ศ. 2549 มีการกำหนดสถานประกอบกิจการต้องมี จป. ดังนี้

  1. การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
  2. การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสีย หรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิดแปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
  3. การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
  4. การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
  5. สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
  6. โรงแรม
  7. ห้างสรรพสินค้า
  8. สถานพยาบาล
  9. สถาบันทางการเงิน
  10. สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
  11. สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
  12. สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
  13. สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม ข้อ 1) ถึง 12)
  14. กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

 

จป.หัวหน้า

 

การวิเคราะห์รูปแบบการป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร ตามกฎกระทรวงปี 2564

(จากเนื้อหาของหมวดที่ 1 ส่วนที่ 1 และ 2) ก็จะเป็นรูปแบบเดียวกันกับกฎกระทรวงฉบับปี 2552 ครับ ก็คือ

  1. ป้องกันที่แหล่งกำเนิดอันตราย เช่น ติดตั้งอุปกรณ์หรือระบบป้องกันอันตรายที่ตัวเครื่องจักรเลย
  2. ป้องกันที่ทางผ่าน เช่น การวางผังพื้นที่ตั้งเครื่องจักร รวมทั้งแบ่งพื้นที่ป้องกันคนไม่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
  3. ป้องกันที่ตัวผู้ปฏิบัติงาน เช่น อบรมให้ความรู้ กำหนดการแต่งกายให้รัดกุม และจัดพวก PPE

สิ่งเหล่านี้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหลังจากที่ไปอบรม จป หัวหน้างาน ออนไลน์มาเรียบร้อยแล้วจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในสถานประกอบการของเราเอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

logo

เข้าสู่โลกของความปลอดภัยในการทำงาน ที่นี่เราพร้อมแชร์เคล็ดลับและแนวทางที่ช่วยให้คุณมีความมั่นใจในการทำงานยิ่งขึ้น

บทคามล่าสุด

บทความแนะนำ

ติดต่อเรา

@2023 – All Right Reserved. Designed and Developed by tsownersgroup